แล้วเหตุการณ์ความวุ่นวายทั้งหลายนี้เกิดจากสาเหตุใด ความไม่ยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปากท้องของชนชาวไทยที่มีจำนวนมากและส่วนใหญ่ของประเทศในระดับล่าง หรือชนชั้นล่าง ถือเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดี ความเจริญก้าวหน้าของประเทศไม่ได้วัดกันด้วยกลุ่มคนรวยชั้นสูงเพียงหยิบมือ เพราะพวกเค้าเหล่านั้น ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็ไม่สามารถตัดประเด็นไปได้เช่นกัน เสมือนไม่สามารถตัดชนชั้นแรงงานไปได้เช่นกัน เพราะปัจจัยที่ทำให้ประเทศเดินไปได้ ก็ด้วยการจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่นำไปสู่ความต้องการของคนกลุ่มนี้มีมากที่สุดนั่นเอง หากจับจุดไม่ได้ว่าทำไมถึงมีความขัดแย้งและจะมา ปฏิรูปประเทศไทยสักกี่ครั้ง ก็ไม่มีทางหลุดพ้นเงื่อนงำเก่าลงได้
ประเด็นหลักคือการทุจริต ข้าว ที่เป็นที่มาของความจำเป็นของชาวนา และเป็นที่มาของการทุจริตในโครงการต่างๆ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลปัจจุบัน (2556) จะบริสุทธิ์ และไม่ใช่ว่าโครงการเกี่ยวกับข้าวของรัฐบาลชุดก่อนจะดี (2553) แต่ทำไมในยุคนี้คนทั่วไปถึงคิดว่ามีการทุจริตกันในวงกว้าง เพราะตรวจสอบแล้วว่า ข้าวในโกดังหายไปถึงสองจุดแปดล้านตัน ยังคงคลุมเครือว่าหายไปไหน แต่ในความเป็นจริง ข้าวไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้เน่า เพราะหากข้าวจำนวนมากขนาดนั้นเน่า ย่อมส่งกลิ่นเหม็นกันทั้งประเทศ มันไม่ได้หาย แต่มันไปอยู่ต่างประเทศ

ในวงการค้าข้าวย่อมรู้ดีว่า การส่งออกข้าวนั้น ประเทศไทยยังคงเป็นอันดับต้นๆ แล้วเค้าเอาข้าวที่ไหนไปขาย ในเมื่อปีๆ นึงข้าวจะสามารถผลิตได้ไม่ต่างกันมากนัก แต่จำนวนส่งออกกลับไม่ได้เพิ่มหรือลดลงจนเรียกว่า ข้าวหมดสต๊อกได้ แล้วข้าวไปไหน แน่นอน ผู้ส่งออกก็เอาข้าวที่รัฐมี หรือที่ชาวนาผลิตนั้น ส่งออกไปตามปกติ เพียงแต่ส่วนต่างที่มีนั้น มาจากรัฐบาลในขณะนั้น
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ก็สนับสนุนให้มีการส่งออกข้าวได้ตามปกติ ต่างกันแค่ว่ากรรมวิธีในการได้ข้าวมานั้น แตกต่างกันแค่ไหน ข้าวไม่ได้หายไปไหน แต่เล็ดรอดขั้นตอนจากโกดังไปยังมือผู้ส่งออกทำให้หลายคนมองไม่เห็น จึงคิดไปว่า ข้าวหาย
ปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้ ควรสอบถามผู้ส่งออกข้าวทุกราย ว่าได้ข้าวมาอย่างไร ใครเป็นคนสนับสนุน แต่จะว่าไปใครจะบอกกันง่ายๆ ความซวยจึงตกแก่ชาวนา ได้เงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ต่อให้นโยบายดีอย่างไร แต่หากขั้นตอนถูกแทรกแซง มีการทุจริต ความยากจนของชาวนาก็ยังคงไม่หลุดพ้นไปจากชีวิต ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็จะมีอยู่ร่ำไป
แต่ใครจะสน หากมองในมุมธุรกิจ ความเคยชินต่อการโกงและการเอาเปรียบ มันเข้าไปในกระแสเลือดยากที่จะหยั่งถึง ใครจะไปสนคนชนชั้นแรงงาน เมื่อความเดือดร้อนเพิ่มชนแรงงานก็ไม่ทน สรุป วังวนปัญหาที่หาทางรอดไม่ได้